วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553



รายงานงานผลการวิจัยในชั้นเรียน

การสร้างชุดการเรียนการสอน CAI เรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ รายวิชา วิทยาศาสตร์
ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย กศน. ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากกระบวนการการเรียนการสอนในปัจจุบันพบว่า นักศึกษา กศน.ตำบลนาคูณใหญ่ มีนักศึกษา พบกลุ่ม 60 คน พบปัญหาการมาพบกลุ่มของนักศึกษาเนื่องจากนักศึกษาบางคนมีข้อแตกต่างกันบางคนมีงานทำไม่มีเวลามาพบกลุ่มผู้วิจัยจึงคิดหาทางแก้ปัญหาเนื่องจากนักศึกษาต้องเรียนให้ครบตามโครงสร้างหลักสูตรและนักศึกษาบางคนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา วิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2553 พบว่านักศึกษา กศน.ตำบลนาคูณใหญ่ บางคนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะเรื่องธาตุและสมบัติของธาตุเนื่องจากเนื้อหาในบทเรียนทำความเข้าใจยากภาพประกอบไม่ชัดเจนดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความห่วงใยต่อนักศึกษาจึงได้จัดทำชุดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ประกอบการเรียนการสอนขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างชุดการเรียนการสอน CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาปลาย เรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนการสอน CAI
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ชุดการเรียนการสอน CAI
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. CAI : COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION หมายถึง กระบวนการการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการสอนเนื้อหาเรื่องราว ต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนการโดยตรงและเป็นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
2. ชุดการเรียนการสอน CAI หมายถึง โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองบทเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้ง 5 เรื่อง
ประกอบด้วย เรื่องธาตุ ,สมบัติของธาตุ,ตารางธาตุ,เทคนิคการจำตารางธาตุ,ประโยชน์ของธาตุ
3 . ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง คะแนนที่ได้จาก การวัดความรู้ ความสามารถของ
ผู้เรียนก่อนและหลังจากการเรียน เรื่อง ธาตุและสมบัติของธาตุ
3. นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนที่ลงทะเบียน เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 /2553 กศน.ตำบลนาคูณใหญ่ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ชุดการเรียนการสอน CAI ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ธาตุและสมบัติของธาตุ
2. เป็นสื่อการเรียนที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
1.1 ประชากร คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลนาคูณใหญ่ ภาคเรียน
ที่ 1 /2553 จำนวน 20 คน ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาวิทยาศาสตร์
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลนาคูณใหญ่ ภาคเรียน ที่ 1 /2553 จำนวน 5 คนลงทะเบียนเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่มตามที่ครูกำหนดทุกครั้ง
2.เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา
ชุดการเรียนการสอน CAI รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ
มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
1.ขั้นการเตรียมการ
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
การกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ของบทเรียน คือการตั้งเป้าหมายว่า นักศึกษาจะสามารถ ใช้บทเรียนนี้ ศึกษาในเรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ รวมทั้งการกำหนด วัตถุประสงค์ ในการเรียน ว่า เมื่อนักศึกษา เรียนจบแล้ว จะสามารถทำ แบบทดสอบและเข้าใจในบทเรียนได้
- การรวบรวมข้อมูล
การเตรียมพร้อมส่วนเนื้อหาบทเรียนและสื่อในการเสนอบทเรียนได้แก่หนังสือ วารสารทางวิชาการหนังสืออ้างอิงภาพต่างๆคู่มือต่างๆทั้งของคอมพิวเตอร์ และของโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน
-ขั้นตอนการสร้าง สตอรี่บอร์ด
เป็นขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหาข้อความภาพรวมทั้งสื่อในรูปแบบ มัลติมีเดีย ลงบนกระดาษก่อนที่จะนำเสนอบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไปในขั้นตอนนี้ควรมีการทบทวน แก้ไขบทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้ก่อน จึงนำไปถึงขั้นตอนการสร้างโปรแกรม
3.ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรม
นำ สตอรี่บอร์ดที่ได้ออกแบบนำมาเขียนการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้คือโปรแกรม Multimedia Authorware Version 7
4. ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน
เอกสารประกอบบทเรียนคือคู่มือการใช้โปรแกรมคู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมเช่น การติดตั้งโปรแกรมการเข้าและการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และคู่มือปัญหาเทคนิคก็มีความจำเป็นหากการติดตั้งบทเรียน มีความสลับซับซ้อน อาจใช้ภาพ รูปภาพประกอบ
5. ขั้นตอนการประเมิน และแก้ไข บทเรียน
สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในขณะที่ใช้บทเรียน หรือสัมภาษณ์ ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียนนอกจากนี้ยังอาจทดสอบความรู้ขอผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบทดสอบเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน


วิธีการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล
การดำเนินการ
นำชุดการเรียนการสอน CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน นำเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนและให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติกับชุดการเรียนการสอน เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษา โดยที่ครูมีหน้าที่อธิบายการทำงานต่างๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชุดการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้ศึกษาเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลที่มากขึ้นและหลังจากการเรียนเสร็จเรียบร้อยก็จะมีแบบทดสอบหลังเรียนให้นักศึกษาทำ โดยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนและบันทึกผลหลังการสอนทุกครั้ง
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ค่าเฉลี่ยร้อยละ
ผลการวิจัย
ตารางแสดงค่าร้อยละของความก้าวหน้าในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์
เรื่องธาตุและสมบัติของธาตุ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย

รายชื่อนักศึกษา คะแนน
ความก้าวหน้า
ก่อนใช้บทเรียน CAI (10) หลังใช้บทเรียน CAI (10)
นายนิติกูล อุตโลกุล 4 6 2
น.ส.อ้อยใจ ก้อนกั้น 5 7 2
นายยุทธนา ทาสี 3 6 3
น.ส.อัจฉรา สำรองพันธ์ 2 5 3
นายวันต์ ไชยภารา 4 7 3
คะแนนรวม 18 31 49
คะแนนเฉลี่ย 3.60 % 6.20 % 26 %

ผลจากการใช้ชุดการเรียนการสอน CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ธาตุและสมบัติของธาตุ
วิชาวิทยาศาสตร์ กับนักศึกษา 5 คนพบว่าโดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 3.60และคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียนเท่ากับ 6.20 โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 25 )และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่านักศึกษาได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคนแสดงว่า
นักศึกษาที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความรู้ในการเรียนที่สูงขึ้น
จากการสังเกตผู้วิจัยพบว่า นักศึกษาสนใจในการเรียน และสนุกกับการเรียนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเห็นได้จาก คำพูดของนักศึกษา ชื่อนางสาวอ้อยใจ ก้อนกั้น พูดว่า “ อยากให้เพิ่มเสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ และตัวหนังสือให้มีสีสันมากขึ้น เพื่อความน่าสนใจอีก ” นายนิติกูล อุตโลกุล พูดว่า “ สนุกดีน่าจะมีในรายวิชาอื่นบ้างนะครับ” แสดงว่านักศึกษามีความต้องการศึกษาในรายวิชาอื่นมากขึ้นอีกด้วย

สะท้อนผลการวิจัย
จากผลการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนก่อนใช้ชุดการเรียนการสอน CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ธาตุและสมบัติของธาตุ วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยมีความภูมิใจที่ได้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ทั้ง 5 คน มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น จาการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ครู กศน. อำเภอนาหว้า ชื่นชมและแนะนำนวัตกรรมใหม่ที่จัดทำขึ้น โดยครู สายฝน บุพศิริ ครูศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนศาลา แนะนำว่า เหมาะสำหรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นที่จบมาจากโรงเรียนในระบบแล้วมาศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปลายเพราะมีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีแต่พูดถึงเนื้อหาสาระการนำเสนอนั้นถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์เป็นบทเรียนที่ดึงดูดความสนใจผู้เรียนดีเพราะมันมีทั้งภาพและเสียง ที่เรียกว่าสื่อผสมในตัวเดียวกันส่วนข้อเสนอแนะคืออยากให้ทำตัวหนังสือให้มีขนาดใหญ่กว่านี้เพราะจะทำให้นักศึกษาที่มีปัญหาทางสายตาอ่านได้ดียิ่งขึ้นและอยากจะให้เพิ่มเติมในเรื่องเนื้อหาส่วนการพัฒนาอยากให้จัดทำวิชาอื่นบ้างเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อไป

ข้อเสนอแนะ
1. ผู้เรียนบางส่วนยังไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง จึงมีผลต่อการนำบทเรียนที่นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ไปใช้ประกอบการเรียนเองตามความต้องการของแต่ละคน
2. เวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนต้องมีการยืดหยุ่นเนื่องจากนักศึกษาแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องของการรับรู้ เพื่อทำความเข้าใจในบทเรียนให้ดียิ่งขึ้น
3. ครูผู้สอนควรมีการขยายความรู้เพิ่มเติมในระหว่างการเรียนเพื่อจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
4. ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการใช้บทเรียนที่นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ซึ่งครูผู้สอนควรชี้แจงจุดประสงค์และวิธีการเรียนให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มเรียน
5. ก่อนการนำบทเรียนที่นำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์นี้ไปใช้ควรตรวจสอบดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จอภาพ และลำโพงต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ มีคุณภาพดี ให้ภาพและเสียงที่คมชัดเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน และให้เกิดความสนใจต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  การเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ พัฒนาสู่โคกหนองนาโมเดล 14 มกราคม 2565 ณ บ้านม่วง ม.1 ต.นาคูณใหญ่ อ.นาหว้า ...